ความเป็นมาโครงการซากุระ

          ผู้ริเริ่มก่อตั้งโครงการซากุระคือนายทาคาชิ ชิโนดะ อาจารย์แซยะ นากามูระ และศาสตราจารย์โซอิชิ ฮาตะ ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 ศาสตราจารย์โซอิชิ ฮาตะได้เดินทางมาเมืองไทย เพื่อมาสํารวจความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย จึงได้มีโอกาสพบกับนายทาคาชิ ชิโนดะ ตามหมู่บ้านอาข่าในหลาย ๆ หมู่บ้าน ช่วงนั้น นายทาคาชิ ชิโนดะ ได้เข้ามาอยู่เมืองไทยก่อนประมาณ 5 ปีแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2529 ซึ่งขณะนั้น นายทาคาชิ ชิโนดะ เป็นนักข่าว นักวิจัย และช่างภาพ ที่เข้ามาสํารวจและศึกษาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย จากนั้นทั้งสองจึงได้ตกลงร่วมกันเข้าพื้นที่หมู่บ้านชาวไทยภูเขาเพื่อทําการสํารวจศึกษา โดยมีคุณโยฮัน เชอหมื่อ เป็นผู้ แปลภาษาจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย หลังจากนั้นทั้งสามท่านได้ร่วมปรึกษาหารือกันถึงเรื่องการให้ความผู้ช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่เด็กเยาวชนชาวไทยภูเขา เมื่อตกลงกันได้เรียบร้อยแล้ว อาจารย์แซยะ นากามูระ เป็นผู้อาสาสนับสนุนให้ทุนการก่อสร้าง

นายทาคาชิ ชิโนดะ

          1 มีนาคม พ.ศ. 2534 ได้ก่อสร้างหอพักซากุระ ในที่ดินของคุณโยฮัน เชอหมื่อ ซึ่งอยู่ติดกับโรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา ศาสตราจารย์โซอิชิ ฮาตะ เป็นประธานจัดการโครงการซากุระในประเทศญี่ปุ่น โดยให้ นายทาคาชิ ชิโนดะ เป็นประธานจัดการโครงการซากุระในประเทศไทย และให้ คุณโยฮัน เชอหมื่อ เป็นผู้จัดการบ้านพักซากุระ หลังจากนั้น 2 ปีต่อมา คุณโยฮัน เชอหมื่อ ได้ลาออก จากนั้นนายทาคาชิ ชิโนดะ เป็นผู้ประสานงานโครงการซากุระ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการซากุระ (อาสาสมัคร)

เริ่มก่อสร้างหอพักซากุระหลังแรก

ช่วยกันลงเสาท่ามกลางแดดร้อน

          โครงการซากุระมีสํานักงานหลักตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านน้ำลัด เป็นการดําเนินงานในลักษณะหอพักการกุศลแบบให้เปล่า เพื่อให้เด็กและเยาวชนชาวไทยภูเขาได้มาพักอาศัยอยู่ในระหว่างที่เรียน จนถึงปัจจุบันมีนักเรียนในความช่วยเหลือมาแล้วรวมทั้งสิ้นมากกว่า 500 คน (2564) และจะพยายามเพิ่มจํานวนในอนาคตต่อไป

          สำหรับอาคารหอพักนักเรียนของโครงการซากุระในปัจจุบัน มีหอพักเซโฮกุ หอพัก ซิมิจึ และหอพักลิลลี่ นอกจากนี้ยังมีศูนย์การเรียนรู้โครงการซากุระ และพิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์ซากุระฮามายะ (จากเดิมเป็นศูนย์มิตรภาพวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา – ญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ในปี พ.ศ. 2565)

ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสโมสรโรตารี่ โตเกียว เซโฮกุ ก่อสร้างหอพักนักเรียนชาย ชื่อ “หอพักเซโฮกุ” เป็นห้องพักแขก ห้องพักเจ้าหน้าที่ชาย และนักเรียนชายที่ย้ายมาจาก “หอพักฮิมาวาริ” มีนักเรียนชายพักอาศัยอยู่ 14 คน (2564)

ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสโมสร โรตารี่ ซิมิจึ ชูโอ เพื่อก่อสร้างอาคารหอพัก ชื่อ “หอพักซึมิจึ” สําหรับเป็นหอพักนักเรียนหญิงที่ย้ายมาจาก “หอพักซูมิเระ” มีนักเรียนหญิงพักอาศัยอยู่ 18 คน (2564)

ได้เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้โครงการซากุระ เป็นอาคาร 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณสร้างอาคารจาก บริษัท เอโกะ ทเว็นตี้ วัน กรุ๊ป ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นอาคารการเรียนรู้ให้กับนักเรียนหอพัก แบ่งการใช้งานโดยชั้นที่ 1 เป็นห้องสมุด ชั้นที่ 2 เป็นศูนย์ฝึกอาชีพ และชั้นที่ 3 เป็นห้องเรียนและห้องคอมพิวเตอร์ 

ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนและเป็นการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับนักเรียนหอพักดังกล่าว ศูนย์การเรียนรู้ภายใต้การดําเนินงานของโครงการซากุระข้างต้นยังมีข้อจํากัดสําคัญในด้านงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ ทําให้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการดําเนินกิจกรรมดังกล่าว และการดำเนินการยังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก ตลอดจนยังไม่ประสบผลสําเร็จตามความคาดหมาย อย่างไรก็ตามโครงการซากุระมีความมุ่งมั่นและมีความคาดหวังว่าศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวจะสําเร็จและเป็นประโยชน์ที่แท้จริงให้กับนักเรียนหอพักและผู้คนที่สนใจในอนาคตต่อไป

ได้เปิดหอพักสาขาขึ้นที่บ้านรวมมิตร ตําบลแม่ยาว อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ชื่อ “หอพักซากุระ เอโกะ โฮม” โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณสร้างอาคารสํานักงานจาก คุณคะเนะฮิโกะ อะเบะ อาคารหอพักนักเรียนชาย จาก บริษัท เอโกะ อินเตอร์เนชั่นเนล ลีเดอร์ ประเทศญี่ปุ่น และอาคารหอพักนักเรียนหญิงจาก บริษัท เอโกะ เจแปน ประเทศญี่ปุ่น โดยได้ใช้เป็นหอพักมาจนถึงปี พ.ศ. 2563 ปัจจุบันได้ย้ายนักเรียนหอพักซากุระ เอโกะ โฮม อยู่รวมกันกับหอพักซากุระหรือสถานสงเคราะห์เด็กโครงการซากุระ และปิดอพักซากุระ เอโกะ โฮม ดังกล่าว

เดือนมิถุนายน ได้รับบริจาคสําหรับสร้างอาคารหอพัก 3 ชั้นเพื่อเป็นที่พักสําหรับเด็กนักเรียน ห้องพักแขกและห้องเก็บของ ชื่อ “หอพักลิลลี่” โดยสร้างขึ้นในพื้นที่ด้านหลังของศูนย์มิตรภาพฯ ปัจจุบันมีนักเรียนหญิงพักอาศัยอยู่ประมาณ 40 คน และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต

ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสโมสรโรตารี่ โตเกียว เซโฮกุ สร้างอาคารศูนย์มิตรภาพวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา – ญี่ปุ่น เป็นอาคาร 3 ชั้น สําหรับเป็นศูนย์แสดงวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ดำเนินการสร้างเสร็จและมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ตั้งอยู่ที่ 364/1 หมู่ 3 บ้านน้ำลัด ตําบลริมกก อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งศูนย์แสดงวัฒนธรรมดังกล่าวได้ให้ตัวแทนนักเรียนของโครงการซากุระเผ่าต่าง ๆ พักอาศัยอยู่ รวมทั้งชายและหญิงประมาณ 10 คน เพื่อดูแลศูนย์แสดงวัฒนธรรมฯ ที่มีการจัดโชว์ไว้ ต้อนรับแขกที่มาเที่ยวชม ตลอดจนดูแลทําความสะอาดอุปกรณ์ทุกอย่างที่อยู่ในอาคารศูนย์มิตรภาพฯ และในปีพ.ศ. 2563 ได้ทำการปรับปรุงใหม่พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์ซากุระฮามายะ ในปัจจุบัน

ได้สร้างหอพักเพิ่มขึ้นอีกเป็นหลังที่สาม ในที่ดินของโรงเรียนสหศาสตร์ศึกษาเช่นเดียวกัน มีชื่อว่า “หอพักฮิมาวาริ” เป็นหอพักสําหรับนักเรียนชาย เงินทุนในการก่อสร้างได้รับบริจาคจากกระทรวงการไปรษณีย์ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นดอกเบี้ยของอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นให้แก่นักเรียนประมาณ 100 คน

พ.ศ. 2536 เดือนพฤษภาคม ได้สร้างอาคารหอพักขึ้นอีกหนึ่งหลัง ในที่ดินของโรงเรียนสหศาตร์ศึกษา ใช้ชื่อว่า “หอพักซูมิเระ” เป็นหอพักสําหรับนักเรียนหญิง งบประมาณในการก่อสร้างหอพักซูมิเระทั้งหมดได้รับบริจาคจากสโมสรโรตารี่ โตเกียว เซโฮกุ

เดือนพฤษภาคม ได้ก่อสร้างบ้านพักซากุระเสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นก็ได้รับนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียน ประมาณ 58 คน เข้ามาอยู่ในบ้านพักซากุระ โดยมีนักเรียนเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา 57 คน และเข้าเรียนโรงเรียนดํารงราษฎร์สงเคราะห์ 1 คน

พิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณบัตร
จากรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2555

          นายทาคาชิ ชิโนดะ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโครงการซากุระ (อาสาสมัคร) ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมในการส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนชาวไทยภูเขาที่ยากไร้ ควบคู่ไปพร้อมกับส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยภูเขาในประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนาน จึงได้รับมอบใบประกาศเกียรติคุณบัตรจากรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ในวันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555 ณ สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจากกงสุลใหญ่ คาซูโอะ ชิบาตะ เป็นผู้มอบรางวัล ซึ่งผู้เข้าร่วมแสดงความยินดีกับนายทาคาชิ ชิโนดะ ในพิธีมอบรางวัลครั้งนี้ 

          นอกจากท่านกงสุลใหญ่ คาซูโอะ ชิบาตะ และเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นในเชียงใหม่แล้ว ยังมีศาสตราจารย์โซอิจิ ฮาตะ (ศาสตราจารย์กิตติคุณสถาบันเทคโนโลยีชิบาอุระ) ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการซากุระ นายชิเกรุ คาซามะ (ประธารโครงการซากุระที่ญี่ปุ่น) นางซาดาโกะ คันซาโตะ และนางสาวนาโอะ คันซาโตะ เป็นตัวแทนผู้สนับสนุนโครงการซากุระจากญี่ปุ่น นายปรีดา คุณามา จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย นายวิชัย ส่องแสง ผู้อำนวยการโรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา (ที่ปรึกษาโครงการซากุระในขณะนั้น) นายเสรี บุญยืน ประธานบ้านน้ำลัด ที่ตั้งโครงการซากุระ นายยามานากะ โตชิฮิโกะ อาสาสมัครจากประเทศไทย เจ้าหน้าที่โครงการซากุระและตัวแทนนักเรียน “นายกำพล จาววัฒนสกุล ศิษย์เก่าและที่ปรึกษาโครงการซากุระ” นายวิรัตน์ วิเศษงามวศิน และนางสาวมินตรา แยลูกู่ เข้าร่วมเป็นตัวแทนศิษย์เก่าโครงการซากุระ

ได้รับเกียรติร่วมพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณและงานเลี้ยงจากรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ 2555