รู้จักโครงการ

ทักทาย

          นายทาคาชิ   ชิโนดะ  ผู้อำนวยการ ( อาสาสมัคร) ของสถานสงเคราะห์เด็กโครงการซากุระในประเทศไทย ได้เดินทางเข้ามาในระเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2529  เป็นนักข่าว  นักวิจัย และช่างภาพ ที่เข้ามาสํารวจถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย ซึ่งพบว่ามีชาวไทยภูเขาจำนวนมากในภาคเหนือของประเทศไทยได้อพยพมาจาก ประเทศจีน พม่า ลาว ฯลฯ ในช่วง 1-2 ศตวรรษที่ผ่านมา มีชาวอาข่า ลาหู่ ม้ง เย้า ลีซอ และกะเหรี่ยง เป็นที่รู้จักกันดี ปัจจุบันการทำไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิมกำลังน้อยลง เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกถูกจำกัด โดยนโยบายของรัฐบาลไม่ไห้ขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูกเนื่องจากเป็นการตัดไม้ทำลายป่า และการใช้ชีวิตบนดอยเป็นเรื่องยากขึ้น ผู้คนจำนวนมากขึ้นเลิกทำไร่และไปทำงานในเมือง แต่พวกเขาไม่สามารถหางานที่ดีได้เพราะพวกเขาไม่มีวุฒิการศึกษา ยังมีอีกหลายพื้นที่ ที่มีเพียงโรงเรียนประถมและมัธยมต้น หลังจากเรียนจบชั้นดังกล่าวก็ต้องเข้าไปโรงเรียนในเมือง ก็ไม่มีรถสำหรับใช้เดินทางไปโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหามากเพราะมีฐานะยากจน ไม่สามารถเช่าห้องพักอยู่แล้วเรียนได้ ซึ่งทำให้เด็กหลายชีวิตต้องเลิกเรียนและไปทำงานในเมือง ในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้ เช่น การค้ายาเสพติด การค้าประเวณีซึ่งเสี่ยงต่อการติดโรคต่างๆทั้งโรคเอดส์ กามโรค  หนองใน เป็นต้น เป็นผลให้วัฒนธรรมดั้งเดิมอันยาวนานที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้หายไปอย่างรวดเร็วและชุมชนหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันใกล้จะล่มสลาย เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้เราเชื่อว่าจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เด็ก ๆ จะได้รับการศึกษาที่เพียงพอ จึงได้ก่อตั้งโครงการซากุระดำเนินการในรูปแบบหอพัก “หอพักซากุระ” สำหรับเด็ก ๆ เหล่านี้ ให้มีที่พักและทุนการศึกษาในระหว่างที่กำลังศึกษาและด้วยความร่วมมือของทุกคน เราจึงสนับสนุนการศึกษาของเด็ก ๆ บนดอย

นายทาคาชิ ชิโนดะ เกิดที่เมืองกิฟุ ปี พ.ศ. 2498
จบการศึกษาจาก Waseda University Faculty of Letters
เป็นช่างภาพ นักวิจัย และนักเขียน อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 31 ปี

         อย่างไรก็ตามโครงการซากุระไม่ได้สนับสนุนพวกเขาเพียงเพราะความยากจน แต่ยังที่มีสิ่งต่าง ๆ ให้เรียนรู้มากมายจากการเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ของเด็ก ๆ ชาวไทยภูเขาและได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและประเพณีอันยอดเยี่ยมที่ไม่อาจทดแทนได้ เครื่องแต่งกายพื้นบ้านที่สวยงาม บุคลิกภาพที่อ่อนโยน และการต้อนรับของพวกเขาที่อบอุ่น สุภาพ และมีน้ำใจ ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้สนับสนุนด้านการศึกษาและส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม อยากให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน นอกจากนั้นโครงการซากุระยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
          ทั้งนี้หากจะให้ประสบความสำเร็จเช่นนี้ อย่าลังเลที่จะดูแลให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา และเป็นเรื่องปกติที่จะทำในสิ่งที่ทำได้ ดังนั้นโปรดเข้าร่วมในการสนับสนุนกับเรา เราขอขอบคุณ

พวกเราคือนักเรียนหญิงรุ่นแรกของหอพักซากุระ

อาหารมื้อนี้อร่อยมาก

เกี่ยวกับโครงการซากุระ

          โครงการซากุระเป็นหน่วยงาน องค์กรพัฒนาเอกชนการกุศลที่ดําเนินงานในลักษณะของมูลนิธิในการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่เด็กเยาวชนชาวไทยภูเขาที่ยากจน ด้อยโอกาสทางการศึกษาและสังคม ซึ่งเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2534  เป็นต้นมา โดยมีหอพักสําหรับนักเรียนดังกล่าว เพื่อให้มีที่พักอาศัยระหว่างกําลังศึกษา ทั้งนี้ทางโครงการซากุระ ยังได้จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เด็กหอพัก ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตลอดจนเพื่อให้เกิดความอบอุ่น ใกล้ชิดเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน อีกทั้งโครงการซากุระยังได้ดําเนินงาน ให้ความช่วยเหลือหมู่บ้านชาวไทยภูเขา ควบคู่ไปกับส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ โดยมี พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ซากุระฮามายะ ภายใต้การดําเนินงานของโครงการซากุระ

หอพักซากุระแห่งแรก (ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว)

วิสัยทัศน์

          โครงการซากุระ เป็นองค์กรที่ให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนชาวไทยภูเขาที่ยากจนอย่างทั่วถึง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ชาวไทยภูเขาบนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม ควบคู่กับการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมชนเผ่าให้คงอยู่สืบต่อไป

มื้ออาหารของทุกคน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้โอกาสเด็กนักเรียนชาวไทยภูเขาที่ยากจน สนใจการเรียนและเรียนดีเข้ามาอยู่ในโครงการฯ ระหว่างที่ศึกษาอยู่
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียน ชาวไทยภูเขา มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3. เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนด้านการศึกษา หัตถกรรม และการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าตนเอง
4. เด็กชาวไทยภูเขามีความรู้ คู่คุณธรรม จริยธรรม มีความเสียสละและรับผิดชอบต่อสังคม
5. เพื่อให้เด็กนักเรียนชาวไทยภูเขานําความรู้ที่ได้รับกลับไปพัฒนาหมู่บ้านหรือท้องถิ่นของตน
6. เพื่อให้เด็กนักเรียนชาวไทยภูเขาเกิดความรักถิ่นฐาน รักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
7. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างชาวญี่ปุ่นกับชาวไทยภูเขาในประเทศไทย

นักเรียนซากุระ ปี พ.ศ. 2564

พันธกิจ

1. ด้านการศึกษา 

  • ให้โอกาสเด็กนักเรียนชาวไทยภูเขาที่ยากจนแต่สนใจการเรียนและเรียนดี  เข้ามาอยู่ในโครงการซากุระเป็นนักเรียนหอพักระหว่างที่กําลังศึกษา
  • กระจายความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงโดยเฉพาะหมู่บ้านที่ไม่มีโรงเรียนและอยู่ห่างไกลความเจริญ
  • ส่งเสริมให้นักเรียนหอพักมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

ห้องสมุดซากุระ

2. ด้านหอพัก

  • ให้ความรักความอบอุ่นแก่นักเรียนหอพักเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน
  • ส่งเสริมให้นักเรียนหอพักมีสุขภาพและอนามัยที่ดี
  • จัดกิจกรรมเสริมทักษะความรู้สร้างกระบวนการคิดตลอดจนการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • ส่งเสริมให้นักเรียนหอพักมีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม มีความเสียสละและรับผิดชอบต่อสังคม

3. ด้านวัฒนธรรม

  • ส่งเสริมและสนับสนุนงานหัตถกรรม ตลอดจนการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีชนเผ่าตนเอง
  • ให้พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ซากุระฮามายะ เป็นแหล่งข้อมูล ทางวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาที่หลากหลายและถูกต้อง
  • ส่งเสริมพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ซากุระฮามายะ เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาและญี่ปุ่น

พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ซากุระฮามายะ

โครงสร้างองค์กร

เจ้าหน้าที่โครงการซากุระประจำประเทศไทย

  • Mr.Takashi Miwa ผู้อำนวยการ (อาสาสมัคร)
  • นางสาววนัสนันท์   สะโป้ง พี่เลี้ยงเด็กและฝ่ายโภชนาการ
  • นางสาวธัญญ์รัตน์   ศรีสุวรรณ การบัญชี
  • นางสาวเพ็ญ   จะโจ่ง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ
  • นางสาวศิรินทรา  ปะแตะ ฝ่ายโภชนาการ
  • นางสาวนรารักษ์  จะคือ พี่เลี้ยงเด็กและฝ่ายโภชนาการ
  • นายอนุศร  นิวัฒนชัยกุล ฝ่ายบริการและสนับสนุนการศึกษา

เจ้าหน้าที่โครงการซากุระประจำประเทศญี่ปุ่น

  • Mr.Takashi Shinoda ผู้อำนวยการ (อาสาสมัคร) โครงการซากุระในประเทศไทย
  • Mr.Soichi Hata ที่ปรึกษาโครงการซากุระ
  • Mr.Shigeru Kazama ประธานซากุระในประเทศญี่ปุ่น
  • Mr. Ikuo Shimizu กรรมการบริหารงานสำนักงานซากุระที่ญี่ปุ่น
  • Mr.Yutaka Okayama / Ms.Yoko Okayama ฝ่ายการขายสำนักงานซากุระที่ญี่ปุ่น
  • Ms.Tamami Kazama ฝ่ายกิจการทั่วไปของญี่ปุ่น / การบัญชีของสำนักงานซากุระที่ญี่ปุ่น